วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

โครงสร้างภายในของลำต้น



เมื่อนำต้นทานตะวัน  ซึ่งเป็นพืชที่เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ มาตัดตามขวางแล้วส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ จะพบว่ามีเนื้อเยื่อชั้นต่างๆ อยู่เรียงตัวตั้งแต่ชั้นนอกเข้าไปชั้นในได้ดังต่อไปนี้

 

1.ชั้นเอพิเดอร์มิส (Epidermis)


เป็นชั้นที่อยู่ด้านนอกสุดของลำต้นพืช ปกติมีอยู่เพียงแถวเดียว ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์คุม (Guard cell) ขนหรือหนาม ด้านนอกของชั้นเอพิเดอร์มิสนี้ ยังมีสารคิวทินเคลือบอยู่อีกด้วย

2.ชั้นคอร์เทกซ์ (Cortex)


ชั้นคอร์แทกซ์ในลำต้นของทานตะวันจะมีลักษณะที่แคบกว่าชั้นคอร์เทกซ์ในราก ซึ่งเซลล์ในชั้นนี้ โดยส่วนมากเป็นเซลล์ประเภทพาเรงคิมา (Parenchyma) ส่วนเซลล์ที่อยู่ติดกับเอพิเดอร์มิส 2-3 แถวถัดเข้ามา เป็นเซลล์ประเภทคอลเลงคิมา (Collenchyma) ที่ช่วยให้ลำต้นมีความแข็งแรงขึ้น ในลำต้นยังมีเนื้อเยื่อสเกลอเรงคิมา (Sclerenchyma) แทรกตัวอยู่ทั่วไป
การแตกกิ่งของลำต้นนั้นมาจากชั้นคอร์เทกซ์นี้ด้วย  ชั้นคอร์เทกซ์สิ้นสุดที่เอนโดเดอร์มิส ซึ่งในลำต้นส่วนใหญ่จะมองเห็นเอนโดเดอร์มิสได้ไม่ชัดเจนหรือบางลำต้นอาจจะไม่มีเลย

3.ชั้นสตีล (stele)


ในลำต้น ชั้นนี้อาจจะกว้างมากจนไม่สามารถแบ่งแยกออกจากชั้นคอร์เทกซ์ได้ชัดเจน ชั้นสตีลยังมีส่วนประกอบต่างๆต่อไปนี้

3.1 วาสคิวลาร์บันเดิล หรือ มัดท่อลำเลียง (vascular bundle)

ประกอบไปด้วยเนื้อเยื่อไซเลม (Xylem) ซึ่งอยู่ด้านในติดกับพิธ และเนื้อเยื่อโฟลเอ็ม (Phloem) ซึ่งอยู่ด้านนอก ติดกับคอร์เทกซ์ มัดท่อลำเลียงของมะละกอและพืชใบเลี้ยงคู่จะมีลักษณะเรียงตัวกันในแนวรัศมีเดียวกัน และเรียงตัวอยู่รายล้อมรอบลำต้นอย่างเป็นระเบียบ  ระหว่างเนื้อเยื่อทั้งสองชนิดนี้ มีเนื้อเยื่อวาสคิวลาร์ แคมเบียม (vascular cambium) กั้นอยู่ตรงกลางอีกด้วย และยังทำให้ทราบได้อีกด้วยว่า มะละกอมีการเจริญเติบโตต่อไปในขั้นที่สอง หรือการเจริญขั้นทุติยภูมิอีกด้วย

3.2 พิธ (Pith)

เป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ด้านในสุดของลำต้น เนื้อเยื่อส่วนนี้คือพาเริงคิมา (Parenchyma) ทำหน้าที่สะสมอาหาร จำพวกแป้งหรือสารอื่นๆ เช่น ลิกนิน ผลึกแทนนิน เป็นต้น

รูป cross section


โครงสร้างภายในของราก

เมื่อนำรากเป็นตัดตามขวาง แล้วส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์ จะสามารถมองเห้นโครงสร้างภายในของรากพืชได้ดังต่อไปนี้

1. ชั้นเอพิเดอร์มิส (Epidermis)

เป็นเนื้อเยื่อชั้นนอกสุดที่มีเซลล์เรียงตัวกันเพียงชั้นเดียว มีผนังเซลล์บาง ไม่มีคลอโรพลาสต์ เซลล์บางเซลล์อาจเป็นตัวเองไปเป็นขนรากได้ด้วย

2. ชั้นคอร์เทกซ์ (Cortex)

เป็นชั้นที่อยู่ระหว่างเอพิเดอร์มิสกับสตีลเข้ามา ประกอบไปดด้วยเนื้อเยื่อพาเริงคิมา ที่ทำหน้าที่สะสมนํ้าและอาหาร ส่วนใหญ่ชั้นในสุดของคอร์เทกซ์ จะเป็นเซลล์แถวเดียว เรียกว่า เอ็นโดเดอร์มิส (Endodermis) เป็นตัวแบ่งระหว่างชั้นคอร์เทกซ์และสตีล

3. ชั้นสตีล (Stele)

เป็นชั้นที่อยู่ถัดจากเอนโดเดอร์มิสเข้าไป พบว่าสตีลในรากจะมีความแคบกว่าคอร์เทกซ์ในราก ประกอบด้วยชั้นย่อย ได้แก่

 

3.1 วาสคิวลา บันเดิล หรือมัดท่อลำเลียง (Vascular bundle)

ประกอบไปด้วยไซเลมอยู่ตรงใจกลางของรากหรือชั้น โดยมีโฟลเอ็มล้อมรอบอยู่ระหว่างแฉก ซึ่งอาจจะมีอยู่ 1-6 แฉก ซึ่งในอนาคตจะเจริญเติบโตไปเป็นเนื้อเยื่อเจริญขั้นที่สอง ที่เรียกว่า วาสคิวลา แคมเบียม (Vascular cambium) เป็นตัวคั่นระหว่างโฟลเอ็มกับไซเลม


รูป cross section



โครงสร้างภายนอกของใบ


ทานตะวัน   จัดได้ว่าเป็นใบที่ค่อนข้างจะสมบูรณ์ มีส่วนประกอบที่สำคัญ ได้แก่

1.ตัวใบ หรือ แผ่นใบ (Lamina หรือ Blade)

     มีลักษณะเป็นแผ่นแบน และบาง ทำให้เซล์ที่มีคลอโรฟิลล์รับแสงให้ได้มากที่สุด ปลายสุดของตัวใบ เรียกว่า ยอดใบ (Apex) ลักษณะเหมือนใบไม้ทั่วไป ด้านตรงข้ามกับยอดใบ จะเป็นส่วนโคนของตัวใบ เรียกว่า ฐานใบ (Base)  เส้นที่อยู่ตรงกลางแผ่นใบ เรียกว่า เส้นกลางใบ (Midrib) ทำให้ใบเกิดการแบ่งเป็นซีกซ้ายและขวา จากเส้นกลางใบมีเส้นย่อยที่แตกออกมา เรียกเส้นเหล่านั้นว่า เส้นใบ (Vein) 
      มีการจัดเรียงตัวของเส้นใบ  แบบตาข่ายหรือร่างแห (Netted venation) คือ เส้นใบย่อยที่แตกแขนงออกมามีลักษณะที่เล็กลงเรื่อยๆและสานตัวกันเป็นร่างแห 

2. ก้านใบ (Petiole หรือ Stalk)

      ก้านใบเป็นส่วนที่เชื่อมระหว่างใบกับลำต้น หรือกิ่ง ในทานตะวันและพืชใบเลี้ยงคู่มีก้าบใบที่มีลักษณะค่อนข้างกลม ในก้าบใบมีท่อลำเลียงทั้งไซเลมและโฟลเอ็ม  เชื่อมระหว่างใบกับลำต้น  
      นอกจากนี้ ยังพบว่า ใบทานตะวันมีการจัดเรียงตัวของใบในบริเวณตำแหน่งของลำต้น เป็นแบบสลับกันไปมา (Alternative) และใบมะละกอยังจัดว่าเป็นใบแบบเดี่ยว (Simplm Leaf) อีกด้วย


โครงสร้างภายในของใบ

เมื่อนำใบทานตะวันมาตัดตามขวาง แล้วส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์ พบว่าโครงสร้างภายในของใบประกอบด้วยชั้นต่างๆ ดังต่อไปนี้

1.ชั้นเอพิเดอร์มิส (Epidermis)

        เป็นลักษณะเหมือนเยื่อหุ้มใบที่อยู่ด้านนอกสุด มีทั้งด้านบน (Upper epidermis) และด้านล่าง (Lower epidermis) ประกอบด้วยเซลล์เพียงหนึ่งแถว และเป็นเซลล์ที่ไม่มีคลอโรพลาสต์ จึงทำให้เอพิเดอร์มิสทั้งบนและล่างไม่มีสีเขียว และมีสารคิวทินเคลือบทางด้านนอกใบอีกทีหนึ่ง เพื่อป้องกันการระเหยของนํ้าออกจากใบ  เอพิเดอร์มิสบางเซลล์มีการเปลี่ยนแปลงตัวเองไปเป็นเซลล์คุม (Guard cell) อยู่ด้วยกันเป็นคู่ๆ รูปร่างคล้ายเมล็ดถั่ว หรือไต เซลล์คุม 2 เซลล์จะหันหน้าด้านเว้าเข้าหากัน ทำให้เกิดช่องว่าง เรียกว่า ปากใบ หรือ รูใบ (Stomata) เซลล์คุมเป็นเซลล์ที่มีเม็ดสีคลอโรพลาสต์อยู่ภายใน ในขณะที่เอพิเดอร์มิสอื่นๆไม่มีคลอโรพลาสต์
        นอกจากนี้ ยังสังเกตได้ว่า ชั้นเอพิเดอร์มิสด้านล่าง (Lower epidermis) จะมีปากใบมากกว่าชั้นเอพิเดอร์มิสด้านบน (Upper epidermis) ด้วย

2.ชั้นมีโซฟิลล์ (Mesophyll)

อาจเรียกว่าเป็นชั้นของเนื้อใบ หรือชั้นที่อยู่ระหว่างเอพิเดอร์มิสชั้นบนกับชั้นล่าง เนื้อเยื่อส่วนใหญ่เป็นประเภทพาเรงคิมาที่มีคลอโรฟิลล์อยู่ด้วย เรียกว่า คลอเรงคิมา (Chlorenchyma = Chloroplast + Parenchyma) มีโซฟิลล์ สามารถแบ่งเป็น 2 ชั้น คือ

2.1 พาลิเซด มีโซฟิลล์ (Palisade Mesophyll) 

เป็นชั้นที่อยู่ใต้เอพิเดอร์มิสด้านบนลงมา ประกอบด้วยเซลล์ที่มีลักษณะยาวและแคบ เรียงตัวตั้งฉากกับเอพิเดอร์มิสด้านบน เซลล์เรียงตัวกันเป็นแถวแน่น มีคลอโรพลาสต์เป็นส่วนประกอบภายในอย่างหนาแน่น จึงมองดูเป็นสีเขียวเข้ม

2.2 สปองจี มีโซฟิลล์ (Spongy Mesophyll)

เป็นชั้นที่อยู่ถัดจากพาลิเซดลงมาและอยู่เหนือเอพิเดอร์มิสทางด้านล่างขึ้นมา มีลักษณะการเรียงตัวของเซลล์อย่างหละหลวม ไม่เป็นระเบียบ รูปร่างเซลล์ค่อนข้างที่จะกลม และมีช่องว่างระหว่างเซลล์เหล่านี้มาก ผิวของเซลล์จึงมีโอกาสสัมผัสกับอากาศได้มาก ทำให้อากาศเกิดการแพร่เข้าออกได้อย่างสะดวก แต่ในเซลล์มีปริมาณคลอโรพลาสต์น้อยกว่าเซลล์พาลิเซด จึงทำให้ด้านล่างหรือท้องใบ มีสีเขียวที่น้อยกว่า(จางกว่า)ด้านหลังหรือบนใบ

3.มัดท่อลำเลียง (Vascular bundle)

มักฝังตัวอยู่ตามเส้นใบขนาดต่างๆ ที่อยู่ภายในใบ ประกอบไปด้วยไซเลม และ โฟลเอ็ม มาเรียงต่อกันเป็นเส้นใบ โดยที่ไซเลม (Xylem) จะอยู่ทางด้านบน และโฟลเอ็ม (Phloem) จะอยู่ทางด้านล่าง 
มัดท่อลำเลียงจะมีกลุ่มเซลล์ที่เรียกว่า บันเดิลชีส (Bundle sheath) ล้อมรอบ ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับท่อลำเลียง ส่วนใหญ่มัดท่อลำเลียง จะอยู่ในชั้นสปองจี มีโซฟิลล์ จึงเห็นเป็นเส้นนูนออกมาทางท้องใบ



รูป crosssection